× close
หน้าหลัก
ประวัติความเป็นมา สภาพทั่วไป ผังโครงสร้างหน่วยงาน วิสัยทัศน์-พันธกิจ อำนาจหน้าที่ ข้อมูลการติดต่อ
ผู้บริหาร สมาชิกสภา
หัวหน้าส่วนราชการ สำนักปลัด กองคลัง กองช่าง กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม กองสวัสดิการสังคม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประกาศ/คำสั่ง ประกาศสอบ/รับสมัครงาน ข่าวประชาสัมพันธ์/กิจกรรม จดหมายข่าว แผ่นพับ-วารสาร
OIT ประจำปี 2567 OIT ประจำปี 2568
ถาม-ตอบ เว็บบอร์ด Social Network นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ระบบรับฟังความคิดเห็นประชาชน ระบบสำรวจความพึงพอใจ ระบบสายด่วนผู้บริหาร
ข้อบัญญัติ แผนพัฒนาท้องถิ่น 5 ปี แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี แผนอัตรากำลัง 3 ปี แผนพัฒนาบุคลากร 3 ปี แผนการตรวจสอบภายในประจำปี แผนเทคโนโลยีสารสนเทศแม่บท แผนพัฒนาการศึกษา 3 ปี
นโยบาย/แผนการบริหารทรัพยากรบุคคล การดำเนินการตามนโยบาย/แผนการบริหารทรัพยากรบุคคล หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
แผนดำเนินงานประจำปี รายงานการกากับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ 6 เดือน รายงานผลการดำเนินงานประจำปี คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ รายงานการจัดการสารสนเทศ
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง/แผนการจัดหาพัสดุ ราคากลาง eGP ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง eGP รายงานการจัดซื้อจัดจ้างประจำเดือน รายงานการจัดซื้อจัดจ้างรายไตรมาส รายงานการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
แผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายงานการรับจ่ายเงินประจำเดือน รายงานการรับจ่ายเงินรายไตรมาส รายงานการรับจ่ายเงินประจำปี ประชาสัมพันธ์การจัดเก็บภาษี ความรู้เกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น
ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่ การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy รายงานผลตามนโยบาย No Gift Policy
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือน รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ การขับเคลื่อนจริยธรรม การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
ประกาศ/คำสั่งสภาฯ รายงานการประชุมสภาฯ ข่าวกิจกรรมสภาฯ
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำร้อง ขอความรับการสนับสนุนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ขอรับการรับการสนับสนุนรถกระเช้า ขอรับการรับการสนับสนุนรถดับเพลิง ขอรับการสนับสนุนเต้นท์ ขอรับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ ขอรับการสนับสนุนบุคลากร ขออนุญาตใช้อาคารสถานที่
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง คู่มือประชาชน
ประกาศ/คำสั่งสภาฯ รายงานการประชุมสภาฯ ข่าวกิจกรรมสภาฯ
ผลิตภัณฑ์เด่นของตำบล สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การจัดการสารสนเทศ ความรู้ที่สนับสนุน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ขององค์กร ความรู้จากประสบการณ์ที่องค์กรได้สั่งสมมา ความรู้ที่ใช้แก้ไขปัญหาที่องค์กรประสบอยู่ในปัจจุบัน ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กร
ข้อมูลการติดต่อ
☰ Menu
หน้าหลัก

ข้อมูลพื้นฐาน

ประวัติความเป็นมา สภาพทั่วไป ผังโครงสร้างหน่วยงาน วิสัยทัศน์-พันธกิจ อำนาจหน้าที่ ข้อมูลการติดต่อ

การปฏิสัมพันธ์ข้อมูล

ถาม-ตอบ เว็บบอร์ด Social Network นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ท้องถิ่นของเรา

ผลิตภัณฑ์เด่นของตำบล สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บุคลากร

คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา หัวหน้าส่วนราชการ สำนักปลัด กองคลัง กองช่าง กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม กองสวัสดิการสังคม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

รับฟังความคิดเห็น

ระบบรับฟังความคิดเห็นประชาชน ระบบสำรวจความพึงพอใจ ระบบสายด่วนผู้บริหาร

กิจการสภา

ประกาศ/คำสั่งสภาฯ รายงานการประชุมสภาฯ ข่าวกิจกรรมสภาฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประกาศ/คำสั่ง ประกาศสอบ/รับสมัครงาน ข่าวประชาสัมพันธ์/กิจกรรม จดหมายข่าว แผ่นพับ-วารสาร

การจัดการความรู้

การจัดการสารสนเทศ ความรู้ที่สนับสนุน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ขององค์กร ความรู้จากประสบการณ์ที่องค์กรได้สั่งสมมา ความรู้ที่ใช้แก้ไขปัญหาที่องค์กรประสบอยู่ในปัจจุบัน ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กร

แผนยุทธศาสตร์/แผนพัฒนา

ข้อบัญญัติ แผนพัฒนาท้องถิ่น 5 ปี แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี แผนอัตรากำลัง 3 ปี แผนพัฒนาบุคลากร 3 ปี แผนการตรวจสอบภายในประจำปี แผนเทคโนโลยีสารสนเทศแม่บท แผนพัฒนาการศึกษา 3 ปี

การบริหาร/พัฒนาทรัพยากรบุคคล

นโยบาย/แผนการบริหารทรัพยากรบุคคล การดำเนินการตามนโยบาย/แผนการบริหารทรัพยากรบุคคล หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี

การบริหารงาน

แผนดำเนินงานประจำปี รายงานการกากับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ 6 เดือน รายงานผลการดำเนินงานประจำปี คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ รายงานการจัดการสารสนเทศ

การส่งเสริมความโปร่งใส

แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

การจัดซื้อจัดจ้าง

แผนการจัดซื้อจัดจ้าง/แผนการจัดหาพัสดุ ราคากลาง eGP ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง eGP รายงานการจัดซื้อจัดจ้างประจำเดือน รายงานการจัดซื้อจัดจ้างรายไตรมาส รายงานการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี

การเงินการคลัง

แผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายงานการรับจ่ายเงินประจำเดือน รายงานการรับจ่ายเงินรายไตรมาส รายงานการรับจ่ายเงินประจำปี ประชาสัมพันธ์การจัดเก็บภาษี ความรู้เกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น

นโยบาย No Gift Policy

ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่ การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy รายงานผลตามนโยบาย No Gift Policy

การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต

การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือน รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี

มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส

ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ การขับเคลื่อนจริยธรรม การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

ร้องเรียนร้องทุกข์

ระบบรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ ระบบรับเรื่องร้องเรียนการทุจริต ระบบรับเรื่องร้องเรียนการบริหารทรัพยากรบุคคล

การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ OIT

OIT ประจำปี 2567 OIT ประจำปี 2568

e-Service

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำร้อง ขอความรับการสนับสนุนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ขอรับการรับการสนับสนุนรถกระเช้า ขอรับการรับการสนับสนุนรถดับเพลิง ขอรับการสนับสนุนเต้นท์ ขอรับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ ขอรับการสนับสนุนบุคลากร ขออนุญาตใช้อาคารสถานที่

คู่มือสำหรับประชาชน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง คู่มือประชาชน
หน้าหลัก ประจำปี 2568 ประจำปี 2568 ความพึงพอใจ
Hot News :
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง เปิดประมูลให้เช่าโรงชำแหละสุกรองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร โดยวิธีการประมูล
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง จัดหาผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์อาคารตลาดสดตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร โดยวิธีการประมูลราคา
ขอเชิญเที่ยวงาน ประเพณีบุญบั้งไฟบ้านศรีฐาน ประจำปี 2568
โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ปีงบประมาณ 2568
ประกาศ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เรื่อง รายงานการเงินประจำปีและรายงานผลการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
slide 25 to 30 of 7
slide 35 to 40 of 31
สายด่วนผู้บริหาร
รับฟังความคิดเห็นประชาชน
ร้องเรียนร้องทุกข์
ร้องเรียนการทุจริต
ร้องเรียนการบริหารทรัพยากรบุคคล
e-Service บริการออนไลน์
ถามตอบ Q&A
สำรวจความพึงพอใจ
ผู้รับเบียยังชีพ
ประเมินภาษีท้องถิ่น
ทะเบียนพาณิชย์
ขออนุญาตก่อสร้าง
คู่มือประชาชน
อำนาจหน้าที่
ข้อมูลการติดต่อ
Subscribe to this RSS feed
Super User

Super User

วันอังคาร, 01 กันยายน 2563 12:48

ศูนย์บริการร่วม

      พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 30 กำหนดให้กระทรวงจะต้องจัดให้ส่วนราชการภายใน ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริการประชาชน ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฏหมาย หรือกฎอื่นใด ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องใดๆ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ในกระทรวงเดียวกัน โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว

      จากแนวคิดการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centered) และมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อให้การบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะนำมาซึ่งความพึงพอใจสูงสุดของผู้มาใช้บริการ โดยแนวทางหนึ่งนั้น ได้แก่ การนำเสนอเอารูปแบบศูนย์บริการร่วม (Service Link) มาใช้บริการประชาชน ในเรื่องต่างๆ ของหน่วยงานราชการนั้นๆ

      ศูนย์บริการร่วม ได้จัดตั้งขึ้นตาม พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 30 กำหนดให้กระทรวงจะต้องจัดให้ส่วนราชการภายใน ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริการประชาชน ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่อเป็นการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยการปรับปรุงการบริการของรัฐ ให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว โปร่งใส และสนองตอบต่อความต้องการของประชนยิ่งขึ้น สำหรับรูปแบบ ศูนย์บริการร่วม มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย ขอบเขต และองค์ประกอบ ของแต่ละหน่วยงานราชการ

      “ศูนย์บริการร่วม” คือ หน่วยให้บริการประชาชน ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวง โดยความร่วมมือของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ทั้งที่เป็นหน่วยงานราชการ หน่วยงานในกำกับของรัฐ (รัฐวิสาหกิจ) และหน่วยงานภาคเอกชน นำงานบริการของแต่ละหน่วยงาน ทั้งที่มีและไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาร่วมให้บริการ ณ จุดบริการเดียว พร้อมทั้งมีการจัดระบบงาน เพื่อให้เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่ง สามารถปฏิบัติงานให้บริการแทนกันได้ ณ ศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้สามารถขอรับบริการได้หลายเรื่องพร้อมกันในคราวเดียว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสอบถาม การขอทราบข้อมูล/ข่าวสาร การยื่นเรื่อง และการขออนุญาต หรือการขออนุมัติในเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกันโดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว

      “ศูนย์บริการร่วมสถานที่ราชการ หรือเรียกว่า ศูนย์บริการร่วม” เป็นหน่วยให้บริการประชาชนที่มีสถานที่ให้บริการตั้งอยู่ในสถานที่ราชการ โดยนำงานบริการที่หลากหลาย มีขั้นตอนการดำเนินการหลายขั้นตอน หรือต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในหลายหน่วยงาน ที่อยู่ต่างพื้นที่ หรือในพื้นที่เดียวกัน แต่ต่างอาคาร หรือต่างชั้น มารวมให้บริการ ณ จุดเดียว เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย ทั้งนี้ ศูนย์บริการร่วม อาจให้บริการเฉพาะในเวลาราชการ หรือทั้งในและนอกเวลาราชการก็ได้

การนำกระบวนงานตามภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่กระทรวงมหาดไทยได้แนะนำให้ลดระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน จำนวน 17 กระบวนงาน และกระบวนงานเพิ่มเติม มาให้บริการ ณ ศูนย์บริการร่วม

  1. จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่
  2. จัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  3. จัดเก็บภาษีป้าย
  4. ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
  5. สนับสนุนน้ำอุปโภคบริโภค
  6. ช่วยเหลือสาธารณภัย
  7. รับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์
  8. แจ้งเกิด
  9. แจ้งตาย
  10. ย้ายที่อยู่
  11. กำหนดเลขที่บ้าน
  12. ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน (ครั้ง
  13. แรก)
  14. ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน (บัตรเดิมหมดอายุ)
  15. การขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  16. การขออนุญาตจดตั้งตลาด
  17. การขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
  18. การขออนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาถารณะ
  19. การรับขึ้นทะเบียนเพื่อรับเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ รายใหม่
  20. การรับแจ้งและยืนยันการมีชีวิตเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ในปีงบประมาณถัดไป

กระบวนงานเพิ่มเติม จำนวน 2 กระบวนงาน

  1. การรับขึ้นทะเบียนเพื่อรับเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ รายใหม่
  2. การรับแจ้งและยืนยันการมีชีวิตเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ในปีงบประมาณถัดไป
Published in องค์ความรู้ที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กร
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอังคาร, 01 กันยายน 2563 09:39

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

      ข้อมูลข่าวสาร คือ สิ่งที่สื่อความหมายให้ทราบถึงเรื่องราวหรือข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่ง เรื่องใดโดยในความหมายนี้เน้นที่การสื่อความหมายเป็นหลัก มิได้เน้นที่รูปร่างหรือรูปแบบของความเป็นข้อมูลข่าวสาร กล่าวคือ สิ่งที่เป็นข้อมูลข่าวสารได้นั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปร่าง หรือรูปแบบของกระดาษที่มีข้อความหรือแฟ้มเอกสาร แต่หมายความรวมถึงสิ่งต่างๆ ที่อาจจะปรากฏให้เห็นเป็นข้อความ ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง และสิ่งอื่นๆที่ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจและรู้ความหมายได้ ไม่ว่าจะเป็นโดยสภาพขอสิ่งนั้นเอง หรือโดยผ่านกรรมวิธีใดๆ เช่น ประจุไฟฟ้าแม่เหล็ก ฟิล์ม ไมโครฟิล์ม รูปภาพ เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ คอมพิวเตอร์ แผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette) คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

      ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครอง หรือควบคุมดูแล ของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งถือเป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในบังคับแห่ง พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

      ดังนั้น ความหมายของคำว่า “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” จึงให้ความสำคัญต่อลักษณะหรือสิทธิในการยึดถือข้อมูลข่าวสารนั้นว่าอยู่ในขอบเขตอำนาจครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐหรือไม่ ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐ หรือเกี่ยวข้อกับบุคคลหรือเอกชนใดๆ ก็ได้

ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการได้อย่างไร ?

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กำหนดวิธีในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารไว้ 4 วิธี ดังนี้

   1.) เปิดเผยโดยการนำข้อมูลข่าวสารที่กฎหมายกำหนดลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีนี้ประกอบด้วย ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการสร้างและการจัดการองค์กร สรุปอำนาจหน้าที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูล ข่าวสาร กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หรือหนังสือเวียน ที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้องและข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด

   2.) เปิดเผยโดยการตั้งแสดงไว้ในสถานที่ที่หน่วยงานจัดเตรียมไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ด้วยตนเอง ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีนี้ประกอบด้วย ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน นโยบายหรือการตีความหมายที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 (4) แผนงาน/โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำลังดำเนินการคู่มือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน สิ่งพิมพ์ที่ได้อ้างถึง มาตรา 7 วรรคสอง สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็น การผูกขาด ตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชน ในการจัดทำบริการสาธารณะ มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี และข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด

   3.) เปิดเผยตามที่ประชาชนมีคำขอเป็นการเฉพาะราย ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่จะขอให้เปิดเผยโดยวิธีนี้ เป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่นอกเหนือจากข้อ 1 และข้อ 2 ดังกล่าวข้างต้น

   4.) การเปิดเผยโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ข้อมูลข่าวสารที่จะขอให้เปิดเผยโดยวิธีนี้ คือ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสศึกษาค้นค้าเป็นการทั่วไป

เมื่อได้ทราบถึงวิธีการเปิดเผยทั้ง 4 วิธี ดังกล่าวข้างต้นแล้ว กล่าวได้ว่าประชาชนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ สรุปได้ดังนี้

   1.) โดยการตรวจค้นได้จากราชกิจจานุเบกษา สำหรับข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

   2.) โดยการใช้สิทธิเข้าตรวจดูได้ด้วยตนเอง ณ สถานที่ ที่หน่วยงานกำหนดและจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารนั้นไว้สำหรับข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

   3.) โดยการไปใช้สิทธิขอดูโดยการยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ ที่จัดกับหรือครอบครองดูแลข้อมูลข่าวสารที่ต้องการขอดูนั้น สำหรับข้อมูลข่าวสารของราชการปกติทั่วไป

   4.) โดยการใช้บริการศึกษาค้นคว้า ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สำหรับข้อมูลข่าวสารที่เป็น “เอกสารประวัติศาสตร์”

“ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” หมายความว่าอย่างไร?

      “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” คือ ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เป็น “สิ่งเฉพาะตัว” ของบุคคล ไม่ว่าในแง่มุมใด เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติ สุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ประวัติการทำงาน เป็นต้น

      ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคลยัง ไม่ถือเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากจะมีสิ่งบ่งชี้ตัวบุคคลด้วยว่าข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นของบุคคลใด โดยอาจเป็น รหัส หมายเลข รูปถ่าย หรือ สิ่งบ่งชี้อย่างอื่นก็ได้

      โดยปกติคนเราจะมีความเป็นอยู่ส่วนตัวในการดำรงชีวิตระดับที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นนำไปเปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งอาจทำให้เราเกิดความไม่สบายใจ หรือรำคาญใจ ซึ่งมาตรา ๓๔ ของรัฐธรรมนูญ ได้รับรองว่าบุคคลมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว ผู้ใดจะรุกล้ำความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่นมิได้

Published in องค์ความรู้ที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กร
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันศุกร์, 01 กันยายน 2566 09:53

ประวัติความเป็นมา

ตราสัญลักษณ์

      องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จัดตั้งตาม พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่มที่ 113 ตอนที่ 9 ง ลงวันที่ 19  มกราคม  2539  มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 30  เดือน มกราคม พ.ศ. 2539  และดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมายเพื่อบริหารจัดการ และพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน  องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน  ตั้งอยู่หมู่ที่  2  ตำบลศรีฐาน  อำเภอป่าติ้ว  จังหวัดยโสธร อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าติ้ว  ประมาณ 12 กิโลเมตร

 

{gallery}history{/gallery}

Published in ข้อมูลทั่วไป
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันศุกร์, 01 กันยายน 2566 15:10

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

      ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบ้านเช่า อาคาร ร้านค้า ตึกแถว บริษัท ธนาคาร โรงภาพยนตร์ แฟลต หอพัก คอนโดมิเนียม ร.ร.สอนวิชาชีพ โรงงานอุตสาหกรรม สนามมวย สนามกอล์ฟ ท่าเรือ บ่อนไก่ ฟาร์มสัตว์ คลังสินค้า และบริเวณที่ดินที่ปกติใช้ร่วมรับโรงเรือนนั้น โดยมีห้วงเวลาในการจัดเก็บประจำทุกวันที่ 1 มกราคม ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี

  1. เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับมอบอำนาจยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
  2. ถ้าค่าภาษีเกิน 9,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดๆละเท่ากัน
  3. ผู้รับการประเมินต้องชำระเงินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน

อัตราค่าปรับ

  1. ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการมีความผิด โทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี
  2. ผู้ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์มีความผิดต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่ เกิน 5 ปี
  3. ถ้าชำระภาษีเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ให้เสียเงินเพิ่ม ดังนี้
    1. ไม่เกิน 1 เดือน เสียเงินเพิ่ม 2.5% ของค่าภาษี
    2. เกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนเสียเงินเพิ่ม 5% ของค่าภาษี
    3. เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่ม 7.5%ของค่าภาษี
    4. เกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือนเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
    5. เกิน 4 เดือนขึ้นไปให้ยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยมิต้องขอให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด

ภาษีบำรุงท้องที่

      ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้น โดยมีห้วงจัดเก็บประจำทุก ภาษีบำรุงท้องที่ วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี

อัตราภาษี

      เสียตามราคาปานกลางของที่ดิน มีหลายอัตรา ขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ ได้โดยตรง ที่ดินว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ จะต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่า ของอัตราปกติ

การอุทธรณ์การฟ้องศาล

  • ยื่นอุทธรณ์ผ่านเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน

ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและการชำระภาษี

  1. ให้เจ้าของที่ดิน,ผู้ครอบครองที่ดิน ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ,ท.5) และชำระภาษีปีละครั้ง ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี
  2. ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงให้ยื่นแบบนับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์

อัตราโทษและค่าปรับ

  1. ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมิน
  2. ยื่นรายการไม่ถูกต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่ม
  3. ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่ม
  4. ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่ 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม 24% ต่อปี ของค่าภาษี

ภาษีป้าย

      ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าหรือโฆษณาหรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น โดยมีห้วงเวลาการจัดเก็บประจำทุกวันที่ ภาษีป้าย 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี

อัตราภาษี

  1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
  2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับรูปภาพ หรือเครื่องหมายอื่นคิดอัตรา 20 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
  3. ป้ายดังต่อไปนี้คิดอัตรา 40 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
    1. ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
    2. ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
  4. ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้ว เสียภาษีต่ำกว่า 200 บาท ให้เสียในอัตรา 200 บาท

การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี

  1. ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ตั้งแต่ 2 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี โดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่ติดตั้งใหม่ให้ยื่นแบบแสดงรายการภายใน 15 วัน
  2. ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่
  3. ถ้าภาษีป้ายเกิน 3,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดๆละเท่ากัน

อัตราโทษและค่าปรับ

  1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน เดือนมีนาคมหรือหลังติดตั้งป้าย 15 วันเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
  2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้องทำให้ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
  3. ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแจ้งการประเมินเสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือน ของค่าภาษีเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน

ใบอนุญาตกิจการประเภทต่างที่ต้องมีการควบคุม

      อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 71 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และมาตรา 32, 54 และ 63 แห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ออกข้อบังคับไว้ให้กิจการประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุม

  1. กิจการที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่,หมู ฯลฯ
  2. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
  3. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
  4. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
  5. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการเช่น ตู้เกมส์ ร้านเสริมสวย หอพัก ฯลฯ
  6. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอเช่นการเย็บผ้าด้วยเครื่องจักร ซักอบรีด ฯลฯ
  7. กิจการที่เกี่ยวกับ หิน ดิน ทราย ซีเมนต์
  8. กิจการที่เกี่ยวกับยา
  9. กิจการที่เกี่ยวกับไม้
  10. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี แก๊ส น้ำมัน เป็นต้น

เอกสารที่ต้องใช้ในการขออนุญาต

  1. บัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. ใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาคาร
  4. เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าสมควร เรียกเพิ่มเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต

อัตราโทษและค่าปรับ

  1. ผู้ประกอบการค้ารายใด ไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับนี้ ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
  2. ไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนดเวลาเสียค่าปรับเพิ่ม 20% ของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่จะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการก่อนกำหนด การเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบังคับนี้

ติดต่อชำระภาษี

      งานจัดเก็บรายได้ กองคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร 35150. โทร. 045-582089 แฟกซ์ 045-582089 อีเมลล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

"ท้องถิ่นดี ภาษีช่วย ท้องถิ่นสวย ภาษีสร้าง"

Published in องค์ความรู้ที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กร
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันจันทร์, 01 มกราคม 2567 16:53

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

นายสมาน สังคะลุน

ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เบอร์โทร 09-6139-1848


พนักงานจ้างภารกิจ/ทั่วไป

นางสาวบังอร ทองงาม

ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (พนักงานจ้างตามภารกิจ)

นายแสน ศรีฐาน

พนักงานขับรถยนต์ (พนักงานจ้างตามภารกิจ)

นายประเสริฐ หนองหงอก

พนักงานประจำรถขยะ (พนักงานจ้างทั่วไป)

นายเชิดศักดิ์ พันธ์ทอง

พนักงานประจำรถขยะ(พนักงานจ้างทั่วไป)

Published in บุคลากร
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันศุกร์, 01 กันยายน 2566 20:34

วิสัยทัศน์-พันธกิจ

     องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติครม.ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) การพัฒนา ภาพการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต ของ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision)

     วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง สภาพการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต

"แหล่งผลิตหมอนขิด  มีเศรษฐกิจพอเพียง  ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม  รวมแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ  บ้านเมืองสะอาดน่าอยู่"

พันธกิจ (Mission)

     พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (ต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)

  1. พัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนและทางเท้าให้ครอบคลุมพื้นที่
  2. ก่อสร้างระบบการจำหน่ายน้ำประปาให้เพียงพอได้มาตรฐานและทั่วถึง
  3. สนับสนุนการศึกษาให้เป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่กับการส่งเสริมจริยธรรม และการมีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมห่างไกลยาเสพติด
  4. พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ประชาชน
  5. มีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
  6. รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่สืบต่อไป
  7. จัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเทศบาลและการบริการสาธารณะ จัดการแก้ไขปัญหาของชุมชน
  8. ปรับปรุงการบริหารงานเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและเป็นธรรม
  9. จัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่อบริการประชาชนให้สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  10. ส่งเสริมให้มีการบริการข้อมูลข่าวสารด้านอินเตอร์เน็ตให้กับพนักงาน ประชาชนเพื่อทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน

 

เป้าประสงค์ (Goal)

     เป้าประสงค์ หมายถึง การระบุสภาพที่ต้องการให้สำเร็จ (การดำเนินการ เพื่อให้เกิดอะไร ถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์หรือภาพความสำเร็จของวิสัยทัศน์)

  1. การคมนาคมสะดวก
  2. ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพียงพอและทั่วถึง
  3. การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพตามแนวธรรมาภิบาล
  4. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
  5. ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
  6. ส่งเสริมการศึกษา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
  7. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  8. จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เกิดมลพิษและมีความยั่งยืน
  9. ชุมชนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  10. ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุได้รับการช่วยเหลือ

 

Published in ข้อมูลทั่วไป
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 01 กันยายน 2567 07:41

กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

นายนุกูล หมายมี

ผู้อำนวยการกองการศึกษา
ศาสนาและวัฒธรรม

เบอร์โทร 08-5141-5747


ข้าราชการครู

นางหอมไกล บุญหล้า

ครู คศ.3

นางสาวเจษฎาภรณ์ ป้องโล่ห์

ครู คศ.2

-ว่าง-

ครู

นางส่อย จันเหลือง

ครู คศ 2

นางวรารัตน์ หนองหงอก

ครู คศ 2

นางลำพอง ส่งศรี

ครู คศ 1


พนักงานจ้างภารกิจ/ทั่วไป

นางนงนุช ธงไชย

ผู้ดูแลเด็ก (ผู้มีทักษะ)

นางสาวจีรนันท์ เข็มเพชร

ผู้ดูแลเด็ก (ผู้มีทักษะ)

นางรจนา ถี่ถ้วน

ผู้ดูแลเด็ก

Published in บุคลากร
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 01 กันยายน 2567 01:11

กองช่าง

กองช่าง

นายชนะชัย โสมณวัฒน์

ผู้อำนวยการกองช่าง

เบอร์โทร 08-1790-5179


พนักงานส่วนตำบล

นายอภิเดช บุญลักษณ์

นายช่างโยธาอาวุโส

เบอร์โทร 08-9625-1475


ลูกจ้างประจำ/พนักงานจ้างภารกิจ/ทั่วไป

นายวิรุณ ช่วงโชติ

พนักงานประจำศูนย์สูบน้ำ (ลูกจ้างประจำ)

นางสาวปาริฉัตร จันใด

ผู้ช่วยนายช่างโยธา (พนักงานจ้างตามภารกิจ)

นางบุญส่ง ป้องกัน

พนักงานประจำศูนย์สูบน้ำ (พนักงานจ้างทั่วไป)

Published in บุคลากร
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันศุกร์, 10 มกราคม 2568 01:11

กองคลัง

กองคลัง

นางสาวดวงพร บุญทศ

ผู้อำนวยการกองคลัง

เบอร์โทร 08-4390-3413


พนักงานส่วนตำบล

นางศริญญา ศิริแสง

นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ

เบอร์โทร 09-8586-9123

นางสาวดวงใจ ขยันทำ

นักวิชาการพัสดุชำนาญการ

เบอร์โทร 09-4514-4198

นางสาวณฐพร วรวงค์

เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ปฏิบัติการ

เบอร์โทร 09-5407-2152


พนักงานจ้างภารกิจ/ทั่วไป

นางสาวกาญจนา สู้สงคราม

ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ(พนักงานจ้างตามภารกิจ)

นางสาวพัชราวดี ทับทอง

ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัสดุ (พนักงานจ้างตามภารกิจ)

Published in บุคลากร
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
วันอาทิตย์, 01 กันยายน 2567 10:16

สำนักปลัด

สำนักปลัด

นางสาวกรรณิกา บุญทศ

หัวหน้าสำนักปลัด

เบอร์โทร 08-8553-1066


พนักงานส่วนตำบล

นางสาวสุมาลี ศรีอ่อน

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ชำนาญการ

เบอร์โทร 08-2907-2507

จ.ส.อ.ชวลิต มิ่งขวัญ

เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยชำนาญงาน

เบอร์โทร 09-0273-6102


พนักงานจ้างภารกิจ/ทั่วไป

นางนภัสสร ภาคสุโพธิ์

ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ (พนักงานจ้างตามภารกิจ)

นางสาวนาทลัดดา ชอบศิลป์

ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ (พนักงานจ้างตามภารกิจ)

นายอิสระ จันใด

นักการภารโรง (พนักงานจ้างตามภารกิจ)

นายภานุชัย ไชยงาม

พนักงานขับรถยนต์ (พนักงานจ้างทั่วไป)

นายวุฒิไกร เข็มเพชร

คนงานทั่วไป (พนักงานจ้างทั่วไป)

ว่าง

คนงานทั่วไป

Published in บุคลากร
Tagged under
Be the first to comment!
Read more...
เริ่มต้นก่อนหน้า16171819202122232425ต่อไปสุดท้าย
หน้าที่ 24 จาก 25
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร 35150.
โทร. 045-582089 แฟกซ์ 045-582089 Email saraban_06350506@dla.go.th
ประชาชน มีภูมิคุ้มกัน พึ่งพาตนเอง พอเพียง เป็นสุข
เกี่ยวกับเรา    ติดต่อเรา
ลิขสิทธิ์ © 2023-2024 องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน. ขอสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้. Power by เว็บอุบลดอทคอม