ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ได้จัดทำเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของ พื้นที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้สนใจ ได้รับทราบ รายละเอียดปรากฎตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้
แผนผังโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ ขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
ผังโครงสร้าง และ ประกาศกำหนดโครงสร้างส่วนราชการของ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้ จึงประชาสัมพันธ์มาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
อำนาจหน้าที่
การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน นั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐานจะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและ องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537( แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทางบกและทางน้ำ มาตรา 67 (1)
- ให้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร มาตรา 68 (1)
- ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น มาตรา 68 (2)
- ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ มาตรา 68 (3)
- การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ มาตรา 16 (4)
- การสาธารณูปการ มาตรา 16 (5)
ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต
- ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ มาตรา 67 (6)
- ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ มาตรา 67 (3)
- ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ มาตรา 68 (4)
- การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส มาตรา 16 (10)
- การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย มาตรา 16 (2)
- การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล มาตรา 16 (19)
ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มาตรา 67 (4)
- การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มาตรา 68 (8)
- การผังเมือง มาตรา 68 (13)
- การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง มาตรา 16 (17)
- การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน มาตรา 16 (5)
ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว
- ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว มาตรา 68 (6)
- ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ มาตรา 68 (5)
- บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร มาตรา 68 (7)
- ให้มีตลาด มาตรา 68 (10)
- การท่องเที่ยว มาตรา 68 (12)
- กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ มาตรา 68 (11)
- การส่งเสริม การฝึกและการประกอบอาชีพ มาตรา 16 (6)
ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การคุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรา 67 (7)
- รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งฝอยและสิ่งปฏิกูล มาตรา 67 (2)
- การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ มาตรา 17 (12)
ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น มาตรา 67 (8)
- ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มาตรา 67 (5)
- การจัดการศึกษา มาตรา 16 (9)
- การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น มาตรา 17 (18)
ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องงถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรืบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร มาตรา 67 (9)
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน มาตรา 16 (16)
- การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 17 (3)
- การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น มาตรา 17 (16)
ประวัติความเป็นมา
ตราสัญลักษณ์
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จัดตั้งตาม พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่มที่ 113 ตอนที่ 9 ง ลงวันที่ 19 มกราคม 2539 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 30 เดือน มกราคม พ.ศ. 2539 และดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมายเพื่อบริหารจัดการ และพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าติ้ว ประมาณ 12 กิโลเมตร
{gallery}history{/gallery}
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติครม.ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) การพัฒนา ภาพการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต ของ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีฐาน ดังนี้
วิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง สภาพการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต
"แหล่งผลิตหมอนขิด มีเศรษฐกิจพอเพียง ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม รวมแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ บ้านเมืองสะอาดน่าอยู่"
พันธกิจ (Mission)
พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (ต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)
- พัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนและทางเท้าให้ครอบคลุมพื้นที่
- ก่อสร้างระบบการจำหน่ายน้ำประปาให้เพียงพอได้มาตรฐานและทั่วถึง
- สนับสนุนการศึกษาให้เป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่กับการส่งเสริมจริยธรรม และการมีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมห่างไกลยาเสพติด
- พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ประชาชน
- มีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
- รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่สืบต่อไป
- จัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเทศบาลและการบริการสาธารณะ จัดการแก้ไขปัญหาของชุมชน
- ปรับปรุงการบริหารงานเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและเป็นธรรม
- จัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่อบริการประชาชนให้สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมให้มีการบริการข้อมูลข่าวสารด้านอินเตอร์เน็ตให้กับพนักงาน ประชาชนเพื่อทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน
เป้าประสงค์ (Goal)
เป้าประสงค์ หมายถึง การระบุสภาพที่ต้องการให้สำเร็จ (การดำเนินการ เพื่อให้เกิดอะไร ถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์หรือภาพความสำเร็จของวิสัยทัศน์)
- การคมนาคมสะดวก
- ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพียงพอและทั่วถึง
- การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพตามแนวธรรมาภิบาล
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
- ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
- ส่งเสริมการศึกษา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
- ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
- จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เกิดมลพิษและมีความยั่งยืน
- ชุมชนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุได้รับการช่วยเหลือ